Constructionism
ความหมายง่ายๆ ที่ เราสามารถนึกถึงได้ จากการเข้าอบรม หรือ เฝ้าดูกิจกรรม ที่ถูกออกแบบมาด้วยหลักการนี้คือ การเรียนรู้โดยการลงมือทำ (Learning-by-doing )
ซึ่งหากคิดไปในทางรูปแบบการเรียนรู้ ก็จะเป็น ความรู้หรือความเข้าใจในสิ่งต่างๆนั้นเกิดจากการที่เราสร้างความรู้เหล่านี้ขึ้นมา แต่ทว่า ความเข้าใจของหลักการนี้ อย่างแท้จริง ต้องการ การทดลอง และสะท้อนความคิดตัวเองในหลายวงรอบการเรียนรู้จึงจะเข้าใจ การทำงานของหลักการการเรียนรู้นี้อย่างดี
Constructionist Learning Tools ตารางข้างล่างนี้ เป็นตัวอย่างของเครื่องมือที่ถูกสร้างมาบนพื้นฐานของหลักการ Constructionism
หลักการการเรียนรู้ ซึ่ง ต่อมาส่งผลให้เกิดเป็นการสร้างเครื่องมือชนิดนี้ขึ้นนั้น เกิดมา ในช่วงที่ Prof. Seymour Papert นำการใช้ โปรแกรม Logo ซึ่งยังเป็น ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ยังเป็นการแสดงผลด้วยตัวอักษรล้วนๆอย่างเดียวอยู่ในเวลานั้น ไป ใช้ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ในโรงเรียนแห่งหนึ่ง ใน รัฐ MA แต่สิ่งที่มีส่วนส่งผล ช่วยให้ Papert พัฒนาหลักการเรียนรู้นี้ นั้นไม่ได้เกิดจาก ห้องเรียนคณิตศาตร์ แต่ เป็นการเฝ้ามองดูเด็กทำงานศิลปะในชั่วโมงศิลปะของโรงเรียน
Papert สังเกตุว่า การเรียนในวิชา คณิตศาสตร์ นั้น เด็กๆ จะได้รับ มอบหมายให้ทำแกาแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล็ก มากมาย ซึ่ง พวกเด็กก็ดูว่าจะสามารถทำได้อย่างดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เด็กๆก็ไม่แสดงออกถึงความสนุกสนานในการเรียนในห้องเรียน
ซึ่งต่างกับ ผลงานในวิชาศิลปะ ที่เขาเฝ้าดู เด็กๆที่ทำการแกะสลักสบู่ ออกมาได้อย่างสวยงาม และสนุกสนาน ซึ่งงานแต่ละชื้น ถูกออกแบบมาจากจินตนาการของเด็กๆ และแต่ละชิ้น ต้องใช้เวลาในการแกะสลักต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์
ซึ่งการให้เวลาในการทำงานนี้ ทำให้เด็กๆมีเวลาที่จะ คิด จะจินตนาการ จะหาแนวคิดใหม่ๆ ที่เขาสามารถลอง สามารถเปลี่ยนแนวคิดใหม่ จากแนวคิดเดิม สามารถที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับเพื่อนๆ ดูผลงานของเพื่อนๆ และ ฟังความเห็นของเพื่อนๆต่อผลงานของตน ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เกิดในห้องเรียนคณิตศาสตร์อย่างสิ้นเชิง
จากการสังเกตุนี้เองทำให้เขาคิดที่จะสร้าง “Soap-Sculpture Math” หรือวิชาคณิตศาสตร์แบบการแกะสลักสบู่ ขึ้นมา
เครื่องมือ Microworld
จะเห็นว่า MicroWorld นั้น สามารถทำให้เกิด สภาวะในการทำงาน แบบเดียวกับ ที่เกิดขึ้น การห้องเรียนวิชาศิลปะที่ให้เด็กๆทำการแกะสลักสบู่
ในการเลือกหัวข้อโครงงานที่จะทำด้วย MicroWorld นั้น ผู้เรียนจะต้องคิด จินตนาการ หาหัวข้อที่จะทำขึ้นมาเอง เช่น เดียวกับการที่เด็กๆก็ทำการแกะสลักสบู่ ออกมาเป็น รูปแบบที่เขาคิดจินตนาการมาเองเช่นกัน ทำให้ ทุกคนได้ทำงานที่ตัวเองอยากทำ ซึ่งทำให้ทุกคนมี พลังที่จะคอยผลักดันตัวเอง ให้ทำงานให้สำเร็จ แม้ว่าจะต้องเจอกับอุปสรรค ในระหว่างการทำงาน
ในการแกะสลักสบู่ เด็กๆจะใช้มีดในการ แกะสลักสบู่ ให้เป็นไปตามรูปแบบที่เขาอยากจะเห็น ในส่วนของ MicroWorld ผู้เรียนจะต้องใช้ การคิดในวิชาคณิตศาสตร์ และ ความเข้าใจในทางเรขาคณิต ในการสร้างโครงงานที่เลืกออกแบบขึ้นมา
โดยที่ทั้ง งานการแกะสลักสบู่ และ MicroWorld workshop เด็กๆและผู้เรียน ก็จะมีเวลาในการทำงานเพียงพอ ที่จะ ให้ผู้เรียนนั้น สามารถ คิดจินตนาการ ทดลองแนวคิด เปลี่ยนแบบ พูดคุยกับเพื่อนๆ ฟังความเห็นซึ่งกันและกัน
[ ในระหว่างการทำงาน ใน MicroWorld workshop ผู้เรียนจะมีโอกาสในการสะท้อนความคิดให้เห็นถึงการทำงานของตัวเอง ที่บางคน ก็จะพยายามแก้ปัญหาที่มีด้วยตัวเองโดยไม่ถามหรือคุยกับคนอื่น บางคนก็ใช้การคุย แลกเปลี่ยนความเห็นกับคนข้างๆ เพื่อหาวิธีการแก้ปัญหาที่เจอ บางคนก็ขอให้คนอื่นมาช่วยเหลือ ซึ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นการทำงานของเรา ว่าเรามี EGO ที่ส่งอาจจะส่งผลการทำงานเป็นทีมหรือไม่ ว่าเราชอบที่จะมองหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือ และรีบเข้าไปช่วยหรือไม่ หรือ อื่นๆ ]
ในการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบนี้ ทำให้ผู้เรียน มุ่งความสนใจไปที่ การแก้ปัญหาหรือทำงานที่ตัวเองมีความสนใจ หรือ มีความหมายกับตัวเอง ซึ่งในระหว่าง การทำงาน ก็จะต้องมีการทำการเรียนรู้ วิธีการ ความคิด ความรู้ ใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถที่จะทำงานได้ประสบความสำเร็จ โดยที่ในระหว่างการทำงานก็มีการแสวงหาโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความเห็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตนกับคนอื่นๆ ที่มีพื้นฐานแตกต่าง หลากหลาย เพื่อนำมาปรับปรุง การทำงานของตน อยู่เสมอ และที่สำคัญ ในระหว่างการทำงาน Facilitator จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ขบวนการนี้ มีการเรียนรู้เกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการทำงาน เพื่อไม่ให้ เมื่อโครงการจบแล้ว ผลที่ได้จะไม่ใช่ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ ที่เพิ่มความสามารถ ความรู้หรือทักษะใหม่ ให้กับคนทำงานด้วย
ซึ่งเมื่อพิจารณาดูตามหลักคิดนี้แล้ว การออกแบบวิธีการเรียนรู้นี้นั้น สามารถเกิดขึ้นได้ ในการทำงานปกติทั่วไปของบริษัทเช่นกัน
“Constructionism is not interested in pitting serious against playful, but instead finds way to live at the intersection of the two” Paulo Blikstein (2015)
[ Constructionism นั้นไม่ได้ที่จะ เลือกให้ความสำคัญระหว่าง การทำงานที่มีความจริงจัง กับ ความสนุกในการทำงาน เพื่อให้งานนั้นๆประสบความสำเร็จ แต่เป็นหลักการที่ยืนอยู่บนจุดสมดุลของทั้งสองด้าน ]
No comments:
Post a Comment